การทำประกันภัย พ.ร.บ. จักรยานยนต์
ถึงเวลาทำประกันภัยพ.ร.บ. เพื่อต่อภาษีป้ายทะเบียนแต่ละปี เรียกได้เกิดว่าวุ่นวายเล็กน้อยเลยทีเดียว เพราะเรามักจะต่อภาษีกันเพียงปีละครั้งเท่านั้น จึงทำให้เราอาจหลงลืมขั้นตอนการทำ พ.ร.บ. ไปบ้าง วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทราบถึงกระบวนการและเอกสารต่าง ๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการต่อภาษีดังต่อไปนี้
อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ราคาเท่าไร
1. ส่วนบุคคล
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. | 161.57 บาท |
75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. | 323.14 บาท |
125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. | 430.14 บาท |
150 ซี.ซี. ขึ้นไป | 645.21 บาท |
รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า | 323.14 บาท |
2. รับจ้าง / ให้เช่า / สาธารณะ
ไม่เกิน 75 ซี.ซี. | 161.57 บาท |
75 ซี.ซี. ถึง 125 ซี.ซี. | 376.64 บาท |
125 ซี.ซี. ถึง 150 ซี.ซี. | 430.14 บาท |
150 ซี.ซี. ขึ้นไป | 645.21 บาท |
ทำประกันภัย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ที่ไหนบ้าง
– ทำที่บริษัทกลางฯ ทุกสาขาทั่วประเทศ
– ทำที่ตัวแทนประกันภัย
– ทำที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
1. สำเนาทะเบียนรถ
2. บัตรประจำตัวประชาชน
ให้คนอื่นทำแทนได้หรือไม่
ผู้ขอซื้อจะเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับกรณีของผู้เอาประกันภัยต้องมีการแสดงตนว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัย
เพื่อเป็นข้อมูลที่ถูกต้องในหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.
เอกสารที่ต้องใช้
1. สำเนาทะเบียนรถ
2. บัตรประจำตัวประชาชน
ส่วนไหนของ พ.ร.บ.ที่ใช้ในการต่อภาษี
ฉีกส่วนท้ายของ พ.ร.บ. เพื่อนำไปต่อภาษีที่กรมการขนส่งทางบกได้
ไม่เสียภาษีนานมีผลอย่างไร
กรณีไม่เสียภาษีประจำปี ต้องเสียค่าปรับในการขาดต่อภาษี
หากขาดต่อภาษีประจำปีเกิน 3 ปี
มีผลทำให้ทะเบียนถูกนายทะเบียนระงับการใช้รถทันที หากต้องการขอใหม่จะมีค่าใช่จ่าย ตรวจสอบได้ที่กรมขนส่งทางบก
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
1.สำเนาทะเบียนรถ
2. บัตรประชาชน
หมายเหตุ : หากไม่มีสำเนาทะเบียนรถสามารถนำรถไปให้เจ้าหน้าที่ขูดเลขตัวถังรถเพื่อยืนยันแทนได้
โทษปรับเมื่อไม่ทำ พ.ร.บ.
การทำประกันภัยพ.ร.บ. คือการประกันภัยภาคบังคับ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
หากมีการเรียกตรวจสอบหลักฐานการทำ พ.ร.บ. ใช้อะไรแสดงเป็นหลักฐาน
เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกดูเอกสารประกันภัย พ.ร.บ. เจ้าของรถมีหน้าที่ต้องแสดงเครื่องหมาย (หน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.) แก่เจ้าหน้าที่
กรณีหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.ชำรุด/สูญหาย
สามารถขอรับได้ที่บริษัทกลางฯ ทุกสาขาโดยมีหลักฐาน ดังนี้
1. ใบแจ้งความกรณีหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.สูญหาย
2. หน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ.เดิมกรณีชำรุด
3.หลักฐานที่ทางราชการออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
– สำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
– สำเนาหนังสือเดินทาง
4. กรณีผู้รับมอบอำนาจเป็นผู้ยื่นขอรับหน้าตารางกรมธรรม์ พ.ร.บ. แทน ให้ทำหนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ 10 บาท)
จากผู้เอาประกันภัย ถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวผู้รับมอบอำนาจพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
เอกสารกรมธรรม์รถจักรยานยนต์หาย สามารถขอใหม่ได้หรือไม่
กรณีกรมธรรม์รถจักรยานยนต์สูญหาย สามารถขอรับได้ที่บริษัทกลางฯ ทุกสาขาโดยมีหลักฐาน ดังนี้
1.สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ใบแจ้งความ)
2.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้เอาประกันภัย
3.กรณีมอบอำนาจ ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
อย่างไรก็ตาม เพียงเราเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ครบถ้วนในการทำประกันภัย พ.ร.บ. ก็ทำให้การทำ พ.ร.บ. เป็นเรื่องง่ายดายแล้ว ใช้เวลาเพียงไม่นาน จากนั้นก็จะได้รับการคุ้มครองยาวนานถึง 1 ปีเลยทีเดียว
ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก www.masii.com